ปัจจุบันร้านค้าจะใช้คำอธิบายสองแบบ
คือ แบตฯกึ่งแห้ง หรือ แบตฯแห้ง, ทั้งสองความหมายคือแบตฯMF.(MAINTENANCE FREE) โดยปกติทั่วไป แบตฯMF จะมีน้ำกรดภายใน
เพียงแต่ว่า จะมองเห็นจุกหรือไม่เห็นจุก.แบตเตอรี่ MF มีฝา 2
แบบ คือ แบบไม่มีจุก และ แบบมีจุก. ผู้ใช้ส่วนมากจะเรียกว่า
แบตฯแห้ง, ซึ่งตามความจริงแล้ว ในแบตฯมีน้ำกรดบรรจุภายใน.
1. แบบไม่มีจุก ดูเหมือนว่าไม่ต้องบำรุงรักษา.
2. แบบ
มีจุก สามารถบำรุงรักษาได้, กรณีน้ำกรดในแบตฯลดลง สามารถเปิดจุกเติมน้ำกลั่นเพิ่มถึงระดับที่กำหนดไว้
เพื่อยึดอายุการใช้งานในนานขึ้น และยังสามารถตรวจวัดค่า ถ.พ.น้ำกรดโดยใช้ปรอทวัดค่าถ.พ.น้ำกรด
กรณีแบตฯจำเป็นต้องอัดไฟเพิ่ม ค่า ถ.พ.น้ำกรดจะเป็นตัวบอกให้ทราบว่า
แบตฯได้รับการประจุไฟสมบูรณ์.(โปรดศึกษาวิธีการอัดไฟ) ค่าถ.พ.น้ำกรดมาตรฐานแบตฯ
MF=1.280(+/-0.01) และค่าถ.พ.น้ำกรดมาตรฐานแบตฯธรรมดา=1.240(+/-0.01)
PANASONIC MF คือ แบตฯMF100% เป็นแบบมีจุก.
เนื่องจากอากาศร้อนในประเทศไทย
แบตเตอรี่ พานาโซนิค MF จึง ออกแบบให้มีจุกบนฝา เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษา(ตรวจวัดค่าความถ่วงจำเพาะน้ำกรดและเติมน้ำกลั่น)
เพื่อยืดอายุการใช้งาน. แม้แต่รถป้ายแดง(รถใหม่)
ยังใช้แบต MF แบบมีจุก เพราะว่า ผู้ผลิตรถยนต์ต้องการให้สะดวกในการบำรุงรักษา.
แบตเตอรี่เปลือกสีดำ
มองไม่เห็นน้ำ, เพื่อสังเกตทางผู้ผลิตได้ใส่ตาแมว(ช่วยบอกระดับน้ำในช่องแบตเตอรี่)
โดยปกติเมื่อใช้งานครบตามระยะเวลา,ระดับน้ำในแบตเตอรี่จะลดลงเท่าๆกันทุกช่องทั้งหกช่อง.
ยกเว้น อาการผิดปกติของระบบไฟชาร์ท(ชาร์ทแก่/แรง)
หรือแบตเตอรี่ถูกใช้งานหนัก เช่น นำรถยนต์วิ่งตลอดทั้งวันบ่อยๆ ตัวอย่าง รถแท๊กซี่,
รถวิ่งระยะทางไกลๆบ่อยๆ เป็นต้น.
ระยะเวลาที่ควรตรวจดูระดับน้ำ(ตาแมว) คือ ครั้งแรกใช้งานครบ 11 เดือนนับจากวันที่ติดตั้งใช้งาน ครั้งที่สองเมื่อครบ 16 เดือนนับจากวันที่ติดตั้งใช้งาน
, จากนั้น ทุก 4 เดือน.
เนื่องจากแบตเตอรี่มีอายุมากขึ้น(เช่นเดียวกับมนุษย์ พออายุมากขึ้นๆ
ค่อยตรวจสุขภาพบ่อยขึ้น).
สำหรับ แบตฯPANASONIC MF จะมีแผ่น
control-sheet ปิดทับจุก, เพื่อควบคุมการระเหยของไอน้ำและก๊าซไฮโดรเจน.
จุกที่ใช้เป็นจุกออกแบบพิเศษป้องกันการระเบิดอันมีสาเหตุจากประกายไฟภายนอก,
และมีฟิวเตอร์/ตัวกรองภายในจุกช่วยกักเก็บน้ำแต่ให้ก๊าซระเหยออกเท่านั้น,
แผ่นธาตุภายในแบตฯ ออกแบบพิเศษให้ทนกับอากาศเมืองไทย (ทนอากาศร้อนและจราจรแออัด).
สติกเกอร์ที่แปะบนฝา(คอนโทรลชีท) ไม่ต้องแกะออก
จะแกะออกต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น ในกรณี แบตฯไฟอ่อน จะต้องถอดไปอัดไฟเพิ่มและวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำกรด
หรือ เติมน้ำกลั่นเพิ่ม เมื่อตรวจพบว่าระดับน้ำลดลงมากผิดปกติ.
จุกแบตเตอรี่ทั้งหกจุก มีฟิวเตอร์ตัวกรองอยู่ภายในจุก
จะช่วยกักเก็บน้ำ แต่จะให้ก๊าซผ่านได้เท่านั้น.
การรับประกันฯ นับ จากวันที่ซื้อใช้งาน(ตอกวันที่เริ่มใช้งานบนฝาแบตเตอรี่)
หากแบตเตอรี่บกพร่องอันเกิดจากกระบวนการผลิต จะชดเชยเปลี่ยนลูกใหม่ แต่จะต้องส่งให้ผู้ผลิตตรวจสอบ
และเป็นผลการตรวจสอบจากผู้ผลิตเท่านั้น .
ที่มา: http://www.facebook.com/PanasonicCarBatteryThailand?ref=stream