ในบรรดาใบปัดน้ำฝนหลายยี่ห้อ หนึ่งในผู้ใช้ที่น่าจะรู้จักดี ก็น่าจะเป็น ยี่ห้อ BOSCH
ผมหมายถึง BOSCH แท้นะครับ ไม่ใช่เทียม !!!
ผมมีความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีนัก กับรูปลักษณ์ ของ กิ๊บล๊อค อันใหม่ของ BOSCH
ด้านซ้ายคือที่ปรับปรุงกิ๊บล๊อคมาใหม่ แต่ตอนใส่ มีความรู้สึกว่ามันไม่แน่นและไม่มีเสียง "คลิ๊ก" เหมือนรุ่นเก่า แถมตัดกิ๊บที่เคยแถมมาเพื่อให้ใช้ได้กับรถอีกหลายรุ่นออกหมด... (ให้ใช้ได้แต่เฉพาะกับรุ่นที่เกี่ยวได้เท่านั้น)
ซึ่งในการพัฒนาในความหมายของผมคือ ต้องทำให้ดีขึ้น...ไม่ใช่แย่ลง อันนี้ก็ต้องแล้วแต่มุมมองแต่ละคนครับ ถ้าได้มีโอกาสลอง ก็มาเล่าสู่กันฟังนะครับ...
วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
แบตเตอรี่ MF
ปัจจุบันร้านค้าจะใช้คำอธิบายสองแบบ
คือ แบตฯกึ่งแห้ง หรือ แบตฯแห้ง, ทั้งสองความหมายคือแบตฯMF.(MAINTENANCE FREE) โดยปกติทั่วไป แบตฯMF จะมีน้ำกรดภายใน
เพียงแต่ว่า จะมองเห็นจุกหรือไม่เห็นจุก.แบตเตอรี่ MF มีฝา 2
แบบ คือ แบบไม่มีจุก และ แบบมีจุก. ผู้ใช้ส่วนมากจะเรียกว่า
แบตฯแห้ง, ซึ่งตามความจริงแล้ว ในแบตฯมีน้ำกรดบรรจุภายใน.
1. แบบไม่มีจุก ดูเหมือนว่าไม่ต้องบำรุงรักษา.
2. แบบ
มีจุก สามารถบำรุงรักษาได้, กรณีน้ำกรดในแบตฯลดลง สามารถเปิดจุกเติมน้ำกลั่นเพิ่มถึงระดับที่กำหนดไว้
เพื่อยึดอายุการใช้งานในนานขึ้น และยังสามารถตรวจวัดค่า ถ.พ.น้ำกรดโดยใช้ปรอทวัดค่าถ.พ.น้ำกรด
กรณีแบตฯจำเป็นต้องอัดไฟเพิ่ม ค่า ถ.พ.น้ำกรดจะเป็นตัวบอกให้ทราบว่า
แบตฯได้รับการประจุไฟสมบูรณ์.(โปรดศึกษาวิธีการอัดไฟ) ค่าถ.พ.น้ำกรดมาตรฐานแบตฯ
MF=1.280(+/-0.01) และค่าถ.พ.น้ำกรดมาตรฐานแบตฯธรรมดา=1.240(+/-0.01)
PANASONIC MF คือ แบตฯMF100% เป็นแบบมีจุก.
เนื่องจากอากาศร้อนในประเทศไทย
แบตเตอรี่ พานาโซนิค MF จึง ออกแบบให้มีจุกบนฝา เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษา(ตรวจวัดค่าความถ่วงจำเพาะน้ำกรดและเติมน้ำกลั่น)
เพื่อยืดอายุการใช้งาน. แม้แต่รถป้ายแดง(รถใหม่)
ยังใช้แบต MF แบบมีจุก เพราะว่า ผู้ผลิตรถยนต์ต้องการให้สะดวกในการบำรุงรักษา.
แบตเตอรี่เปลือกสีดำ
มองไม่เห็นน้ำ, เพื่อสังเกตทางผู้ผลิตได้ใส่ตาแมว(ช่วยบอกระดับน้ำในช่องแบตเตอรี่)
โดยปกติเมื่อใช้งานครบตามระยะเวลา,ระดับน้ำในแบตเตอรี่จะลดลงเท่าๆกันทุกช่องทั้งหกช่อง.
ยกเว้น อาการผิดปกติของระบบไฟชาร์ท(ชาร์ทแก่/แรง)
หรือแบตเตอรี่ถูกใช้งานหนัก เช่น นำรถยนต์วิ่งตลอดทั้งวันบ่อยๆ ตัวอย่าง รถแท๊กซี่,
รถวิ่งระยะทางไกลๆบ่อยๆ เป็นต้น.
ระยะเวลาที่ควรตรวจดูระดับน้ำ(ตาแมว) คือ ครั้งแรกใช้งานครบ 11 เดือนนับจากวันที่ติดตั้งใช้งาน ครั้งที่สองเมื่อครบ 16 เดือนนับจากวันที่ติดตั้งใช้งาน
, จากนั้น ทุก 4 เดือน.
เนื่องจากแบตเตอรี่มีอายุมากขึ้น(เช่นเดียวกับมนุษย์ พออายุมากขึ้นๆ
ค่อยตรวจสุขภาพบ่อยขึ้น). สำหรับ แบตฯPANASONIC MF จะมีแผ่น control-sheet ปิดทับจุก, เพื่อควบคุมการระเหยของไอน้ำและก๊าซไฮโดรเจน. จุกที่ใช้เป็นจุกออกแบบพิเศษป้องกันการระเบิดอันมีสาเหตุจากประกายไฟภายนอก, และมีฟิวเตอร์/ตัวกรองภายในจุกช่วยกักเก็บน้ำแต่ให้ก๊าซระเหยออกเท่านั้น, แผ่นธาตุภายในแบตฯ ออกแบบพิเศษให้ทนกับอากาศเมืองไทย (ทนอากาศร้อนและจราจรแออัด).
สติกเกอร์ที่แปะบนฝา(คอนโทรลชีท) ไม่ต้องแกะออก จะแกะออกต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น ในกรณี แบตฯไฟอ่อน จะต้องถอดไปอัดไฟเพิ่มและวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำกรด หรือ เติมน้ำกลั่นเพิ่ม เมื่อตรวจพบว่าระดับน้ำลดลงมากผิดปกติ.
จุกแบตเตอรี่ทั้งหกจุก มีฟิวเตอร์ตัวกรองอยู่ภายในจุก จะช่วยกักเก็บน้ำ แต่จะให้ก๊าซผ่านได้เท่านั้น.
การรับประกันฯ นับ จากวันที่ซื้อใช้งาน(ตอกวันที่เริ่มใช้งานบนฝาแบตเตอรี่) หากแบตเตอรี่บกพร่องอันเกิดจากกระบวนการผลิต จะชดเชยเปลี่ยนลูกใหม่ แต่จะต้องส่งให้ผู้ผลิตตรวจสอบ และเป็นผลการตรวจสอบจากผู้ผลิตเท่านั้น .
ที่มา: http://www.facebook.com/PanasonicCarBatteryThailand?ref=stream
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)