วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไม่ใช่แฟน..ทำแทนไม่ได้!!! แต่..น้ำมันเครื่องดีเซลและเบนซิน แทนกันด้าย...ย

 
          ถ้าท่านมีน้ำมันเครื่องที่เหลือจากการเปลี่ยนถ่ายครั้งก่อน หรือที่แถมมาตอนซื้อนั่นแหละครับ ลองสังเกตดูตรงฉลากที่ติดด้านหน้าแกลลอนดูครับ จะพบตัวหนังสือประมาณนี้
          ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องของเบนซิน จะเขียนประมาณว่า API SM/CF , API SL/CF หรือ API SJ/CF ...เป็นต้น
          ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องของดีเซล ก็จะเขียนประมาณว่า API CI-4/SL , API CH-4/SL หรือ API CG-4/SJ ...เช่นกัน
          มาดูความหมายของตัวอักษรกันดีกว่าครับ 
         ให้ดูอักษรตัวแรกที่ต่อจากคำว่า API ครับ
          
          " S " มาจากคำว่า service หรือ spark ignition engine หมายถึง เครื่องยนต์ที่จุดระเบิดโดยใช้ประกายไฟจากเขี้ยวหัวเทียน ซึ่งหมายถึงเครื่องเบนซินนั่นเองครับ
         
          " C " มาจากคำว่า commercial หรือ compression ignition engine หมายถึงเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดโดยใช้ความร้อนจากการอัดตัวของอากาศ ซึ่งหมายถึงเครื่องยนต์ดีเซลนั่นเองครับ 
          เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็หมายความว่า เราสามารถใช้น้ำมันเครื่องชนิดเดียวกัน ได้ทั้งกับเครื่องดีเซลและเครื่องเบนซิน (เพราะน้ำมันยี่ห้อเดียวกัน จะระบุค่า S และ C ในแกลลอนเดียวกัน)
          และหากที่บ้านของท่าน มีทั้งรถเก๋งและปิคอัพ ท่านก็สามารถที่จะซื้อน้ำมันเครื่องยี่ห้อเดียว แล้วนำมาใส่ได้ทั้งสองคัน ก็เป็นการประหยัด และไม่ผิดกฎกฏิกาแต่อย่างใดทั้งสิ้นครับ (ส่วนที่แตกต่างของน้ำมันเครื่อง อยู่ที่เกรดของน้ำมันครับ โดยดูได้จากตัวอักษรที่ต่อจาก S และ C ครับ วันหน้าจะมาอธิบายเพิ่มเติมครับ ปรกติราคามักเป็นตัวกำหนดคุณภาพครับ ยิ่งแพงน้ำมันมักจะดี แต่ก็ควรเทียบยี่ห้อด้วยนะครับ บางครั้งเกรดเดียวกัน ต่างยี่ห้อก็ต่างราคานะครับ) 
          
          ซ.ต.พ. = ซึ่งต้องพิสูจน์
          note : API มาจาก American Petroleum Institute
                     สถาบันปิโตรเลียมของอเมริกา


ตัวอย่างน้ำมันเครื่องเบนซิน API SM/CF




ตัวอย่างน้ำมันเครื่องดีเซล API CH-4/SJ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น