วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

SAE ...คือ...?


          นอกเหนือจากเกรดของน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกอย่างที่ผู้ใช้รถอย่างเราควรทราบ..ก็คือ...
ค่าความหนืดของน้ำมันครับ !!!
          SAE ย่อมาจาก Society of Automotive Engineering หมายถึง สมาคมวิศวกรยานยนต์ เป็นสมาคมที่ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางกฎเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ของสหรัฐอเมริกา
          SAE จะใช้การวัดค่าความหนืดของน้ำมัน(ความข้นใส)เป็นหลักครับ โดยแบ่งเป็น 2 เกรด คือ
          1.น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว (โมโนเกรด)
          2.น้ำมันเครื่องเกรดรวม (มัลติเกรด)


          น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว (โมโนเกรด) เป็นน้ำมันที่ใช้เลขตัวเดียวเป็นตัวกำหนดค่าความหนืดของน้ำมันครับ เช่น SAE 30 , SAE 40 หรือ SAE 50 เป็นต้น ตัวเลขต่ำแปลว่าความหนืดต่ำ ตัวเลขยิ่งสูงคือยิ่งหนืดครับ ความหนืดของน้ำมันจะไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ ไม่ว่าจะร้อนหรือหนาว ความหนืดจะคงที่ครับ (ตามเบอร์ที่ใช้) เบอร์ยอดนิยม น่าจะเป็น SAE 40 เป็นสเปคของเครื่อง TFR(มังกรทอง) ที่ใช้กับรถตั้งแต่ปี 1987-1995 และความหนืด SAE 40 นี้ยังเหมาะกับรถรอบไม่จัดมาก รถรุ่นเก่าๆที่เริ่มกินน้ำมันเครื่องครับ หรือรถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ ก็ใช้ได้ดีครับ อ้อ...ดูค่า API ด้วยนะครับ อย่างน้อยควรจะ API CC ขึ้นไปครับ ถ้าเป็น API CF ขึ้นไปยิ่งดีมากครับ...

          น้ำมันเครื่องเกรดรวม (มัลติเกรด) เป็นน้ำมันเครื่องที่ใช้เลข 2 ตัวกำกับครับ เช่น SAE 15w40 , SAE 20w50 หรือ SAE 10w30 เป็นต้น ค่าของมันบ่งบอกอะไรแก่เราได้บ้าง?... ค่าตัวเลข 2 ตัว บอกให้เราได้รู้ว่า เมื่ออุณหภูมิต่ำ ค่าความหนืดน้ำมันก็จะต่ำตามอุณหภูมิครับแต่ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ครับ และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความหนืดน้ำมันก็จะปรับตัวสูงตามอุณหภูมิแต่ไม่เกินค่าที่กำหนดเช่นกันครับ
          ยกตัวอย่าง เช่น น้ำมันเครื่อง SAE 10w30  เป็นน้ำมันเครื่องที่ถูกออกแบบมา ให้มีค่าความหนืด SAE 10w เมื่อทำงานที่อุณหภูมิต่ำ และมีค่าความหนืด SAE 30 ที่อุณหภูมิสูงขึ้น โดย ค่า " w " เป็นตัวย่อของ " winter " ที่ระบุค่าความหนืดของน้ำมันภายใต้อุณภูมิต่ำ นั่นเอง
          รถรุ่นใหม่ๆ นิยมใช้น้ำมันเครื่องแบบมัลติเกรดมากกว่า โมโนเกรดครับ เพราะตอบสนองการทำงานได้ดีกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า ทำให้เหมาะสมกว่า ในหลายๆด้านครับ โฆษณาบางตัว ยังคุยเลยครับว่า " ปกป้องทันทีที่สตาร์ท " ก็จะไม่ปกป้องอย่างไรเล่าครับ ในเมื่อน้ำมันใสกว่า สามารถไปเคลือบชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ลดการเสียดสีระหว่างเครื่องทันที...เช่นนั้นแล้วก็พิจารณากันเอาเองนะครับ ว่าจะใช้น้ำมันเครื่องแบบไหนดีให้เหมาะสมกับรถของท่าน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดครับ.....



ตัวอย่างน้ำมันเครื่อง SAE 10w40

ตัวอย่างน้ำมันเครื่อง SAE 10w30












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น